Articles

28 Sep 2020

เมนูบำรุงครรภ์ในแต่ละไตรมาส

ช่วงตั้งครรภ์คือช่วงเวลาที่ต้องเอาใจใส่ดูแลสุขภาพตัวเองเป็นพิเศษ รวมไปถึงเรื่องอาหารการกินด้วย เพราะอาหารที่คุณแม่ทานนั้น ส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางสมองและร่างกายของทารกในครรภ์ ซึ่งในแต่ละช่วงเดือน ร่างกายจะต้องการสารอาหารที่แตกต่างกัน (*สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ )Baby Castle มีเมนูอาหารที่เหมาะสมกับคุณแม่ในแต่ละช่วงอายุครรภ์มาแนะนำค่ะ ไตรมาสที่หนึ่ง ช่วง 1 – 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเจริญเติบโตของสมอง ระบบประสาทและไขสันหลังของทารกในครรภ์ สารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในช่วงไตรมาสแรก ได้แก่ โปรตีน แคลเซียม ธาตุเหล็ก และโฟเลต  เมนูอาหารแนะนำ : ยำก้านคะน้า, ตับผัดพริกหวาน, หมูผัดบรอกโคลีน้ำมันหอย, ต้มจืดตำลึง เต้าหู้ไข่ ผลไม้และธัญพืชแนะนำ : แคนตาลูป, ส้ม, มะละกอ, ทับทิม, วอลนัท, ถั่วลิสง, * โปรตีน แคลเซียม และธาตุเหล็ก เป็นสารอาหารหลักที่คุณแม่ต้องได้รับในปริมาณที่เพียงพอตลอดอายุครรภ์– อาหารแนะนำสำหรับคุณแม่ที่แพ้ท้องหนัก คุณแม่บางคนแพ้ท้องหนักมาก มีอาการคลื่นไส้อาเจียน กินอาหารที่มีกลิ่นคาวไม่ค่อยได้ หน้ามืดจะเป็นลม ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ถ้าเป็นเช่นนี้ ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อย กินอาหารอ่อนๆ มีกลิ่นน้อย เช่น ข้าวต้ม […]

Show details

11 Sep 2020

โภชนาการก่อนคลอดของคุณแม่สำคัญต่อลูกน้อยอย่างไร

เมื่อก้าวเข้าสู่การเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ “โภชนาการที่ดี” อาหารเป็นปัจจัยสำคัญต่อสุขภาพที่จะส่งผลต่อร่างกายของคุณแม่และยังช่วยบำรุงทารกในครรภ์ให้เติบโตแข็งแรงตามพัฒนาการ ดังนั้น ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ยิ่งตั้งครรภ์ยิ่งต้องบำรุงร่างกายมากขึ้น เพราะสารอาหารจากคุณแม่จะถูกแบ่งไปให้ทารกในครรภ์ด้วย เพื่อให้ลูกสมบูรณ์แข็งแรงไม่มีภาวะแทรกซ้อน คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่หลากหลายและครบทุกหมู่เป็นประจำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ สารอาหารที่ต้องให้ความสำคัญมีอะไรบ้างมาดูกัน 1.โปรตีน สารอาหารสำคัญต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อและสมองของทารกในครรภ์ ทานแล้วอยู่ท้อง ช่วยลดความอยากอาหารบ่อยๆ นอกจากนี้ยังช่วยให้เต้านมและมดลูกของคุณแม่ขยายตัวในระหว่างตั้งครรภ์ด้วย แหล่งสารอาหาร : เนื้อสัตว์, ไข่, ปลา, นม ปริมาณความต้องการเพิ่ม : 60 มิลลิกรัมต่อวัน 2.แคลเซียม คือแร่ธาตุที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของกระดูกและระบบควบคุมของเหลวในร่างกายของทารก คุณแม่ควรทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงอย่างต่อเนื่องไปจนคลอด เพราะถ้าร่างกายได้รับแคลเซียมเพียงพอจะทำให้กระดูกแข็งแรงและลดการเกิดตะคริว แหล่งสารอาหาร : นม, ผักใบเขียว, เต้าหู้, ปลาตัวเล็ก ปริมาณความต้องการเพิ่ม : 1200 มิลลิกรัมต่อวัน 3.ธาตุเหล็ก จำเป็นสำหรับการสร้างเม็ดเลือดที่เพิ่มจำนวนอย่างมากในคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อใช้ลำเลียงอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ ถ้าร่างกายคุณแม่ได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ซึ่งจะส่งผลให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่าเกณฑ์ แหล่งสารอาหาร : เครื่องในสัตว์, ตับ, ผลไม้, ธัญพืช ปริมาณความต้องการเพิ่ม : 30 มิลลิกรัมต่อวัน […]

Show details

30 Aug 2020

ความรู้เกี่ยวกับท่านอนของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์

เมื่อคุณกำลังตั้งครรภ์ เรื่องเล็กๆ อย่างท่านอนก็มีผลกับเด็กที่อยู่ในครรภ์นะคะ ดังนั้นท่านอนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่อาจทำให้คุณแม่มือใหม่หลายท่านกังวลใจว่าจะต้องนอนอย่างไรถึงจะถูกต้อง หลีกเลี่ยงการเกิดตะคริว และปลอดภัยต่อเจ้าถั่วน้อยน่ารักในครรภ์ วันนี้แอดมินจะมาขอแนะนำความรู้เกี่ยวกับท่านอนของคุณแม่ขณะตั้งครรภ์กันค่ะ ^^ ไตรมาสที่ 1 (1 – 3 เดือน)เป็นช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ หน้าท้องยังไม่โตมากนัก คุณแม่สามารถนอนท่าไหนก็ได้ ที่รู้สึกว่านอนสบายเพื่อให้ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ แต่ต้องระวังช่วงตื่นนอน แนะนำให้คุณแม่พลิกตัวตะแคงข้างแล้วค่อยๆ ใช้มือดันพยุงตัวลุกขึ้น เพราะถ้าลุกขึ้นทันที อาจจะทำให้คุณแม่หน้ามืดได้ ไตรมาสที่ 2 (4 – 6 เดือน)เป็นช่วงที่หน้าท้องของคุณแม่ขยายใหญ่อย่างรวดเร็ว ท่านอนที่แนะนำคือ ท่านอนตะแคงซ้าย เพราะจะช่วยให้เลือดหมุนเวียนได้ดี ทำให้ไตสามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ แต่ไม่ได้หมายความว่า นอนตะแคงขวาไม่ได้นะคะ หากคุณแม่นอนตะแคงซ้ายนานๆ แล้วเมื่อย ก็สามารถพลิกตัวนอนตะแคงขวาได้ค่ะ ไตรมาสที่ 3 (7 – 9 เดือน)ช่วงไตรมาสสุดท้าย ท้องของคุณแม่จะโตมากทำให้รู้สึกอึดอัดและนอนไม่สบายตัว ท่านอนที่จะทำให้คุณแม่นอนหลับสบายที่สุดคือ ท่านอนตะแคงข้างเพื่อให้พื้นรองรับน้ำหนักของท้องและควรใช้หมอนรองระหว่างขา จะช่วยลดอาการหน่วงของร่างกาย ทำให้คุณแม่นอนหลับสนิทและสบายตัว ทั้งยังปลอดภัยต่อลูกน้อยในครรภ์อีกด้วยนะคะ ท่านอนที่คนท้องควรหลีกเลี่ยง ท่านอนหงาย เมื่อเข้าสู่เดือนที่ 5 หน้าท้องของคุณแม่เริ่มขยายใหญ่ขึ้น ท่านอนหงายจึงเป็นท่านอนที่ควรหลีกเลี่ยง […]

Show details

13 Aug 2020

ไขข้อสงสัย…ขนาดท้องเล็ก – ใหญ่ของคุณแม่ตั้งครรภ์

เมื่อเป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ความกังวลใจนั้นย่อมมีมากกว่าคนปกติทั่วไป ทั้งอารมณ์ที่อ่อนไหวจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนและความห่วงใยที่มีต่อลูกน้อยในครรภ์ บางท่านอาจถูกทักเกี่ยวกับขนาดท้อง จนอาจเกิดความกังวลได้ baby castle มีสาระน่ารู้เกี่ยวกับขนาดท้องมาให้คุณแม่ได้อ่านเพื่อคลายความกังวลใจกันค่ะ        ท้องเล็ก อันตรายไหม ? คุณแม่บางคนท้องมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับอายุครรภ์  ทำให้เกิดความกังวลใจว่าทารกในครรภ์อาจจะไม่เติบโตตามเกณฑ์ หรือกลัวว่าจะเกิดความผิดปกติกับการตั้งครรภ์ ขนาดท้องเล็กของคุณแม่แต่ละคนมีหลายปัจจัย จำนวนการตั้งครรภ์ หากเป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรกขนาดท้องจะไม่ใหญ่มากนัก เพราะกล้ามเนื้อท้องยังกระชับอยู่ทำให้ท้องขยายช้า ปริมาณน้ำคร่ำน้อยเกินไป รูปร่างและสรีระของคุณแม่ก็มีส่วน ถ้าคุณแม่มีรูปร่างเล็กบอบบางอยู่แล้ว ขนาดท้องก็จะโตไม่มาก กรณีที่คุณแม่มีภาวะความดันโลหิตสูง ก็เป็นสาเหตุให้การนำออกซิเจนไปยังทารกได้ไม่ดีพอ จึงทำให้ทารกตัวเล็ก ท้องใหญ่ เกิดจากอะไร ? เมื่อคุณแม่โดนเปรียบเทียบขนาดท้องกับคุณแม่ท่านอื่นที่มีอายุครรภ์เท่ากันแต่ทำไมท้องใหญ่กว่า จึงกลัวว่าจะเกิดความผิดปกติในการตั้งครรภ์ ไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ เพราะสาเหตุที่ขนาดท้องแต่ละคนไม่เท่ากันมีหลายปัจจัย ในครรภ์คุณแม่อาจจะมีน้ำคร่ำมากเกินไป ซึ่งมักจะพบในคุณแม่ที่มีความเสี่ยงของโรคเบาหวาน จำนวนลูกในครรภ์ หรือการตั้งครรภ์ลูกแฝด คุณแม่ที่มีมดลูกคว่ำค่อนไปทางด้านหลัง ท้องจะมีลักษณะกลม ทำให้มองดูท้องใหญ่ ขนาดตัวของทารกก็มีความสัมพันธ์กับขนาดท้องเช่นกัน  ขนาดท้องของคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นสำคัญแค่ไหน ? เรื่องท้องเล็ก ท้องใหญ่ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพของคุณแม่และลูกในครรภ์มากนัก จึงไม่ใช่สิ่งที่น่ากังวล หากคุณแม่ไปพบแพทย์เป็นประจำและการวัดการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์เป็นปกติดี หมั่นดูแลตัวเองรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน พักผ่อนให้เพียงพอ คอยติดตามพัฒนาการของลูกในครรภ์อย่างใกล้ชิด เท่านี้ก็สบายใจได้แล้วค่ะ

Show details